16 ธันวาคม 2556

Published ธันวาคม 16, 2556 by with 0 comment

แค่รู้หลักการของโปรแกรมก็ใช้โปรแกรมอะไรก็ได้

สวัสดีครับ ผู้อ่านทุกท่าน ทุกท่านคงรู้ว่ากว่าจะได้ใช้เครื่องมือ เช่น มือถือและคอมพิวเตอร์ก็ต้องผ่านการฝึกฝนเรียนรู้อย่างยาวนาน ถ้าไปเจอโปรแกรมที่ตนเองไม่เคยใช้ต้องงงเลยครับ บทความนี้จะพาผู้อ่านไปเข้าใจหลักการของโปรแกรมทุกประเภทครับ


รูปแบบการติดต่อการผู้ใช้ แบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้
  1. แบบข้อความ เช่น ระบบปฏิบัติการ DOS ต้องใช้การพิมพ์คำสั่งเพื่อสั่งงานระบบตามที่ต้องการ ปัจจุบันพบในระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์สายต่าง ๆ  ยังคงมีรูปแบบนี้ให้ใช้
  2. แบบกราฟิกส์ เป็นการติตต่อกับผู้ใช้งานด้วยหน้าต่างอย่างเป็นระบบ และสะดวกสบาย ปัจจุบันนี้ถูกนำไปใช้เกือบทุกโปรแกรม
  3. การสัมผัส
  4. การติดต่อกับผู้ใช้จากท่าทาง การเคลื่อนไหวของผู้ใช้ เป็นการติดต่อโดยอาศัยท่าทาง การเคลื่อนไหวของผู้ใช้ในการใช้งานโปรแกรม ปัจจุบันถูกใช้ไปกับเกมเป็นส่วนใหญ่
  5. การติดต่อกับผู้ใช้ผ่านคำสั่งเสียง ปัจจุบันถูกพัฒนาให้ใช้งานแค่คำสั่งพื้นฐาน เช่น เปิดเครื่อง ปิดเครื่อง โทรออก รับสาย เป็นต้น อนาคตข้างหน้าอาจถูกพัฒนาให้ฉลาดและเก่งขึ้น 
ส่วนการแสดงผลของโปรแกรมจะถูกแสดงผลด้วยจอมอนเตอร์ เสียง การพิมพ์ ครับ

หลักการของโปรแกรมในรูปแบบกราฟิกส์
  • โปรแกรมในรูปแบบนี้ถูกออกแบบให้ใช้งานได้อย่างสะดวก(สบาย) และเรียนรู้ได้
  • โปรแกรมในรูปแบบนี้ขึ้นอยู่ระบบที่ใช้ 
วิธีเอาตัวรอดกับโปรแกรมที่ไม่รู้จัก
  1. สังเกตชื่อโปรแกรมว่าเป็นโปรแกรมอะไร ใช้งานในด้านไหน
  2. ค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต (ในกรณีมีอินเทอร์เน็ต)
  3. ลองเอาเมาส์ไปคลิกแถบเมนูข้างบน และลองแปลคำสั่งเมนู
  4. ลองกดปุ่ม F1 หรือ ลองหาคำว่า Help
  5. ในกรณีที่เป็นโปรแกรมที่ใช้ภาษา #$@!+ ที่ไม่รู้จัก ชื่อโปรแกรมค้นข้อมูลไม่ได้ ให้ทำใจให้สงบสักครู่ แล้วลงมือลองเล่นโปรแกรมดู อย่างมีหลักการ หากรู้ว่าโปรแกรมนี้ใช้ทำอะไร ให้ลองใช้แบบโปรแกรมประเภทนั้นๆ อย่างระมัดระวัง
  6. ถามวิธีใช้ตามเว็บบอร์ดและผู้รู้ต่างๆ
  7. หากลองทุกวิธีแล้วไม่ได้จริงๆ ให้ลบโปรแกรมทิ้งครับ
ปล. หวังว่าคงมีประโยชน์บ้างครับ
ขอบคุณครับ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็นได้เลยครับ :)